วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

การเข้าร่วมประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา

เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2550 ผมพร้อมด้วยครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
อีก 2 คนได้แก่ คุณครูนิคม เรืองกูล และคุณครูเจตนา ศิริมงคล ได้ไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา ณ อาคารแกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งจัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ มี ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน รมว.กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน ลักษณะการจัดประชุม จะจัดการประชุมออกเป็นกลุ่มย่อยทั้งหมด 11 กลุ่มย่อย ในส่วนของข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยในหัวข้อเรื่อง"การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา" ซึ่งมีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุม ณ ห้อง Meeting Room 11 อาคารแกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สาระการประชุมโดยย่อมีดังนี้
> เด็กในยุคปัจจุบันจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า มีความโกรธ ความไม่รักษาระเบียบวินัย มีความกระวนกระวายใจ กังวลใจ มีความหุนหันพลันพลันแล่น และก้าวร้าวมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
> ถ้าเราปล่อยให้การศึกษาทางด้านอารมณ์ให้เป็นไปตามแต่โอกาสจะอำนวย ก็จะทำให้เกิดผลเสียหายที่ใหญ่หลวง
> การแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนในอดีตเมื่อนักเรียนทำความผิด การแก้ไขพฤติกรรมใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือน ควบคุมโดยการดุ ตำหนิ ขู่ลงโทษทางกาย( การตี ) ภาคทัณฑ์ หรือสั่งให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
> พฤติกรรมของครูที่นักเรียนไม่ชอบคือ การพูดหยาบคาย ตี หัวเราะเยาะ จุกจิกจู้จี้ ตบหัว ไล่ออกจากห้องเรียน ไม่เก็บความลับของนักเรียน โมโหคนอื่นแล้วมาพาลกับนักเรียน การล้อเลียนให้ได้อาย ไม่ฟังเหตุผลคำอธิบาย ด่าถึงพ่อแม่บรรพบุรุษ พฤติกรรมทางลบของครูเหล่านี้ ยิ่งทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี กับครู กับการเรียน และกับโรงเรียนด้วย
> เด็กจะทำอะไรได้ดี ก็ต่อเมื่อเขามีความรู้สึกที่ดี
> เด็กที่มีปัญหาเรื่องความประพฤติคือ เด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นและให้กำลังใจ ดังนั้นการกระตุ้นและให้กำลังใจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการที่จะจัดการกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม คือ การจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก
> ยุทธศาสตร์ในการเสริมพลังทางบวก ถ้าผู้มองมีบวกอยู่ในใจมาก ภาพที่ตนเองมองเห็นก็จะเป็นภาพบวกทั้งเข้มและชัดเจน อันจะทำให้พฤติกรรมทางบวก คือความดีงามถ้าปฏิบัติแล้วให้ผลตอบสนองความต้องการ เกิดความสุข ความพอใจ ตัวเราก็จะรับวิธีการนั้นเป็นค่านิยม และยึดเป็นเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติต่อไป





ไม่มีความคิดเห็น: