เมื่อวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2550 ผมพร้อมด้วยครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้ไปเข้ารับการอบรมตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับสำนักสันติวิธีธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จัดการอบรมหลักสูตรเรื่อง "แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา" ณ โรงแรมบางกอกกอล์ฟ สปา
รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี โดยมี ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะเป็นวิทยากรผู้อบรม ผลการอบรมสรุปโดยย่อดังนี้
> การเจรจาไกล่เกลี่ย(Negotiation) คือกระบวนการแก้ปัญหาระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งสมัครใจมาเจรจา ในเรื่องของความแตกต่างเพื่อพยายามที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันในประเด็นที่มีความกังวลด้วยกัน
> การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง(Mediation) คือการเจรจาไกล่เกลี่ยที่อาศัยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นกลาง
> การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ควรใช้ความนุ่มนวลหรือ "สันติวิธี"
> การสื่อสารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
> การจัดการความขัดแย้งควรเน้นที่ "กระบวนการ" ต้องวิเคราะห์ ประเมิน และค้นหาวิธีการที่เหมาะสม เพราะ สิ่งที่เราเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด จึงไม่ควรด่วนสรุป
> การจัดการความขัดแย้ง ต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
> การจัดการและแก้ปัญหาความขัดแย้ง บางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลา "อย่ารีบร้อน" ร่วมมือกันทำ
> กฏ กติกา หรือข้อจำกัดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง อาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ควรหาทางออกร่วมกัน หรือ มองนอกกรอบ
คำคม > "การเปลี่ยนแปลงเป็นวิกฤตสำหรับคนไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่เป็นโอกาสสำหรับคนที่เตรียมตัวไว้แล้ว" "การแก้ปัญหาร่วมกัน แยกคนออกจากปัญหา นุ่มนวลในประเด็นเรื่องของคน แต่แข็งในประเด็นของปัญหา" "An eye for an eye and we all go blind" (ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ผันทุกคนสู่ความพ่ายแพ้)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น